8 ก.ค. 2561

(Research) งานวิจัย Part 2. Power Regulation (อัพเดทใหม่) ขั้นที่ 1-3



เป็นการวิจัยเกี่ยวกับพลังงาน หรือกระแสไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ในโคโลนี่ของเหล่า duplicant เพราะต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้เครื่องใช้ต่างๆทำงาน
การวิจัยเกี่ยวกับพลังงานนี้จะมีทั้งหมด 6 ขั้น ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆมากมาย โดยทางเราจะแบ่งเป็น 2 พาร์ทเพื่อไม่ให้บทความยาวจนเกินไป โดยบทความนี้จะพูดถึงการวิจัยเกี่ยวกับพลังงานในขั้นที่ 1-3





ขั้นที่ 1 Power Regulation


มีสิ่งก่อสร้างที่จะปลดล็อค 3 ชิ้นดังนี้ 



1. Battery (แบตเตอร์รี่)
  • อยู่ในหมวด Power  ใช้สำหรับกักเก็บพลังงานที่ตัวละครสร้างขึ้น
  • ต้องใช้สายไฟลากต่อจากเครื่องกำเนิดพลังงาน
  • จุได้ 40.0 kJ (มีความจุมากกว่าแบตเตอรี่อันเล็ก)
  • จ่ายกระแสไฟ 2000.0 J/cycle
  • สร้างความร้อน +6.3 W
  • ค่าตกแต่ง -15 Decor (3 ช่องรอบๆ)
ข้อควรระวัง :
- หากพลังงานที่เก็บไว้ไม่ได้ใช้งาน จะค่อยๆรั่วไหลออกไปทีละน้อย
- แบตเตอรี่สามารถระเบิดได้ (หากระเบิดจะฆ่าตัวละครที่อยู่ใกล้ๆทันที) วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการระเบิดคือ คอยเช็คอุณหภูมิของแบตเตอรี่อยู่เสมอไม่ให้ร้อนจนเกินไป หรือเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำแบตเตอรี่ให้แข็งแรงขึ้น
Tip :
- สร้างแบตเตอรี่ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากถ่านหิน (Coal Generators) ไว้ในพื้นที่น้ำแข็ง (Frozen Biome) จะช่วยลดอุณหภูมิของเครื่องได้
- หากปล่อยน้ำจากท่อส่งน้ำรดเหนือแบตเตอรี่จะช่วยลดอุณหภูมิของเครื่องได้เช่นกัน
- ควรต่อวงจรไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าแบตเตอร์รี่ก่อนจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่เช่นนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะทำงานต่อเนื่องไม่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร
- แนะนำให้ต่อวงจรไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ---> สายไฟฟ้าแรงสูง (Heavy Watt Wire) ----> หม้อแปลงไฟฟ้า (Power Transformer) จะช่วยให้ไฟฟ้าต่ำกว่า 1000 วัตต์ทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก


2. Power Switch (สวิตช์ไฟ)

  • อยู่ในหมวด Powerใช้สำหรับเปิด/ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ต้องวางบนสายไฟก่อนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า หากปิดสวิตช์จะตัดกระแสไฟฟ้าทำให้เครื่องใช้ถัดจากนั้นทุกเครื่องไม่สามารถทำงานได้
  • สามารถติดตั้งบนอากาศได้ (ไม่ต้องใช้พื้น)

ข้อควรระวัง :
- ไม่ควรเดินสายไฟเป็นวงกลมหรือเชื่อมต่อกันหมด เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสวิตช์ไฟที่ติดตั้งได้


3. Wire Bridge (สะพานไฟ)

  • อยู่ในหมวด Power 
  • ใช้สำหรับข้ามสายไฟไม่ให้ทับเส้นกัน 
  • ค่าตกแต่ง -5 Decor (1 ช่องรอบๆ)

Tip:
- แยกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกจากระบบวงจรไฟฟ้า (แยกต่างหาก) จะช่วยป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าเกิน (power overloads) ลดการสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์
- สะพานไฟสามารถข้ามได้ทั้งพื้นและสายไฟอื่นๆ


ขั้นที่ 2 (บน) Internal Combustion


มีสิ่งก่อสร้างที่จะปลดล็อค 2 ชิ้นดังนี้ 


1. Coal Generator (เครื่องกำเนิดไฟฟ้าถ่านหิน)

  • อยู่ในหมวด Power 
  • ใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า
  • ต้องการ : ถ่านหิน (Coal) -1000g/s
  • ผลที่ได้ :
  • คาร์บอนไดออกไซด์ +20g/s
  • พลังงาน +600W
  • ความร้อน +45W 
  • ค่าตกแต่ง -15 Decor (3 ช่องรอบๆ)

ข้อควรระวัง :
- เนื่องจากมันจะผลิตไฟฟ้ามาพร้อมกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก หากไม่จัดการให้ดีจะทำให้ไม่มีอากาศหายใจได้ ควรติดตั้งไว้ด้านล่างของโคโลนี่ หรือภายในห้องปิด และควรมีการจัดการกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นี้ เช่นใช้ Carbon Skimmer ดูดคาร์บอนเปลี่ยนเป็นน้ำเสีย หรือ Algae Terrarium เปลี่ยนคาร์บอนเป็นออกซิเจน แล้วต่อท่อดูดออกซิเจนที่ได้ปล่อยกลับเข้าสู่โคโลนี่


2. Hydrogen Generator (เครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจน)

  • อยู่ในหมวด Power 
  • เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยก๊าซไฮโดรเจน (ก๊าซสีชมพู จะลอยอยู่สูงๆ)
  • ใช้ไฮโดรเจน -100.0g/s
  • ต้องต่อท่อนำแก๊สเข้า (ไฮโดรเจนเท่านั้น หากนำแก๊สอื่นเข้าเครื่องจะพัง)
  • ควรใช้ตัวแยกแก๊ส (Gas Filter)เลือกแก๊สไฮโดรเจน ต่อท่อเข้าเครื่อง
  • ผลที่ได้  : 
  • พลังงาน +800.0W
  • ความร้อน +20.0 W
  • ค่าตกแต่ง -15 Decor (3 ช่องรอบๆ)  

Tip :
- ควรใช้ร่วมกับ เครื่องผลิตออกซิเจนด้วยน้ำ
(Electrolyzer) เนื่องจากเครื่องนั้นจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออกมาด้วย











ขั้นที่ 2 (ล่าง)  Automatic Control


มีสิ่งก่อสร้างที่จะปลดล็อค 4 ชิ้นดังนี้  (อันแรกในภาพเป็นการปลดล็อคแถบ Automation)


1. Power Shutoff

  • อยู่ในหมวด Power
  • ใช้เปิด/ปิดพลังงานแบบอัตโนมัติ ใช้ร่วมกับ Automation Wire และ แผงวงจรต่างๆ
  • Auto Inputs: On/Off


2. Signal Switch (สวิตช์สัญญาณ)

  • อยู่ในหมวด Automation
  • ไม่ได้ทำงานเหมือนสวิตช์ไฟ
  • ใช้ร่วมกับ Automation Wire แผงวงจรต่างๆ และเซนเซอร์ต่างๆ
  • หลักการทำงานคือช่วยส่งสัญญาณให้แผงวงจรเพื่อเปิด/ปิดการทำงาน
  • Auto Outputs: Active/Standby



Tip : การต่อสวิตช์สัญญาณกับแผงวงจรมีหลักการดังนี้

Not : (on=off / off=on)

And: (ต้องเปิดทั้งคู่จึงจะทำงาน)

Or: (เปิดสองอันหรืออันใดอันหนึ่งจึงจะทำงาน)

Xor: (เปิดอันใดอันหนึ่งเท่านั้น)

สามารถต่อแบบผสมได้ เช่น

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเซนเซอร์เพื่อให้สามารถใช้ระบบอัตโนมัติได้หลากหลาย


3. Automation Wire Bridge (สะพานสายออโต้)

  • อยู่ในหมวด Automation
  • ใช้งานเหมือนสะพานไฟ ไว้สำหรับข้ามสายออโต้ไม่ให้เชื่อมติดกัน





4. Automation Wire (สายออโต้)

  • อยู่ในหมวด Automation
  • ใช้เชื่อมแผงวงจร เซ็นเซอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเชื่อมต่อระบบออโต้
  • สามารถลากผ่านพื้นกระเบื้องได้
  • ค่าตกแต่ง -5 (1 ช่องรอบๆ)



ขั้นที่ 3 (แถวที่ 1) Fossil Fuels


มีสิ่งก่อสร้างที่จะปลดล็อค 3 ชิ้นดังนี้



1. Natural Gas Generator (เครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยแก๊สธรรมชาติ)

  • อยู่ในหมวด Power 
  • เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยแก๊สธรรมชาติ (ก๊าซสีส้มๆ)
  • ต้องการ :
  • แก๊สธรรมชาติ -90g/s
  • ต้องต่อท่อเข้า (แก๊สธรรมชาติ) และท่อออก (คาร์บอนไดออกไซด์)
  • ผลที่ได้ :  
  • พลังงาน +800.0W
  • คาร์บอนไดออกไซด์ +22.5g/s
  • น้ำเสีย 67.5g/s
  • ความร้อน +50W
  • ค่าตกแต่ง -15 Decor (3 ช่องรอบๆ)

Tip: 
- ใช้ปั๊มแก๊สดูดแก๊สธรรมชาติต่อเข้าเครื่อง ควรใช้เครื่องแยกก๊าซด้วย เพราะหากมีก๊าซอื่นเจือปนจะทำให้เครื่องพัง
- ปั๊มแก๊ส 1 ตัวเพียงพอต่อเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยแก๊สธรรมชาติถึง 5 เครื่อง

- ต้องใช้ Oil Refinery (โรงกลั่นน้ำมัน) 1 เครื่อง หรือ Fertilizer Synthesizers (เครื่องทำปุ๋ย) 9 เครื่อง จึงจะสามารถสร้างก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอต่อเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยแก๊สธรรมชาติ 1 เครื่อง

2. Oil Refinery (โรงกลั่นน้ำมัน) 

  • อยู่ในหมวด Refinement
  • ต้องการ :
  • น้ำมันดิบ -10.0kg/s
  • พลังงาน -480.0W
  • ต่อท่อของเหลวเข้า (น้ำมันดิบ) และท่อของเหลวออก (ปิโตเลียม)
  • สิ่งที่ได้:
  • ปิโตเลียม +5.0kg/s
  • แก๊สธรรมชาติ +90g/s
  • ความร้อน +50.0W
  • ค่าตกแต่ง -10 (2 ช่องรอบๆ)

Tip :
- โรงกลั่นน้ำมันจะกลั่นน้ำมันดิบให้กลายเป็นปิโตเลียมเพื่อใช้กับเครื่อง Petroleum Generator (เครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยปิโตเลียม) หรือใช้ปิโตเลียมในการสร้างพลาสติกด้วยเครื่อง Polymer Press
- อุหภูมิของน้ำมันดิบในท่อไม่เป็นอัญหาแต่อย่างใด ในการทำปิโตเลียมจะมีอุหภูมิ 74.9°C เสมอ
    ต่อx6

 ต่อ  กับ 

- โรงกลั่นน้ำมัน 1 เครื่อง เพียงพอต่อ เครื่อง Polymer Press 6 เครื่อง
หรือ เครื่อง Petroleum Generator 1 เครื่องกับ เครื่อง Polymer Press 2 เครื่อง


3. Petroleum Generator (เครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยปิโตเลียม)

  • อยู่ในหมวด Power
  • ต้องการ:
  • ปิโตเลียม -3000g/s
  • ต่อท่อน้ำเข้า (ปิโตเลียม)
  • สิ่งที่ได้:
  • พลังงาน +2000.0W
  • คาร์บอนไดออกไซด์ +500g/s
  • น้ำเสีย 1250g/s
  • ความร้อน +100W
  • ค่าตกแต่ง -15 (3 ช่องรอบๆ)

Tip:
- เนื่องจากเครื่องจะปล่อยก๊าซคาร์บอนฯและน้ำเสียออกมาระหว่างทำงาน ดังนั้นควรติดตั้งเครื่องในห้องปิดเพื่อป้องกันก๊าซรั่วไหล และควรมีบ่อน้ำเสียอยู่ด้านล่างเพื่อรองรับน้ำเสียเหล่านั้น (วางบนพื้นตะแกรงที่น้ำผ่านได้)
- สามารถจัดการกับก๊าซคาร์บอนฯโดยใช้ Carbon Skimmer ดูดคาร์บอนเปลี่ยนเป็นน้ำเสีย หรือ Algae Terrarium เปลี่ยนคาร์บอนเป็นออกซิเจน แล้วต่อท่อดูดออกซิเจนที่ได้ปล่อยกลับเข้าสู่โคโลนี่
- สามารถจัดการกับน้ำเสียโดยใช้

  • Water Sieve (เครื่องกรองน้ำเสีย) เพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำสะอาด 
  • ต่อท่อนำไปรดต้นไม้  เช่น Pincha Pepper หรือ Thimble Reed 
  • นำเข้าเครื่อง Fertilizer Synthesizer (เครื่องทำปุ๋ย) เปลี่ยนเป็นปุ๋ยและแก๊สธรรมชาติ




ขั้นที่ 3 (แถวที่ 2) Advanced Power Regulation


มีสิ่งก่อสร้างที่จะปลดล็อค 4 ชิ้นดังนี้




1. Power Control Station

  • อยู่ในหมวด Stations
  • ต้องการ: โลหะบริสุทธิ์ (Copper, Gold, Iron, Tungsten, Steel) -5 kg/ครั้ง
  • เป็นส่วนประกอบในการสร้างห้อง Power Plant (ต่ำสุด 12 ช่อง สูงสุด 96 ช่อง) เพื่อรับโบนัสห้องเพิ่ม
  • เพิ่มสถานะ Engie's Tune-Up ให้ตัวละครที่ตั้งค่างานเป็น Engineer
  • สร้างไมโครชิปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


2. Power Transformer (หม้อแปลงไฟฟ้า)

  • อยู่ในหมวด Power 
  • ใช้ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อไม่ให้ใช้พลังงานเกิน 1000W เพราะจะทำให้วงจร Overload 
  • สามารถใช้กับสายไฟฟ้าแรงสูงได้ โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าจากด้านซ้าย จ่ายออกสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าด้านขวา
  • ใช้จุกระแสไฟฟ้าได้ 1000J
  • กระแสไฟฟ้ารั่วไหล 0.0 J/cycle
  • ค่าตกแต่ง -10 Decor (2 ช่องรอบๆ)


ตัวอย่าง

Tip:

  • เพื่อไม่ให้วงจรโอเวอร์โหลดควรแยกหม้อแปลงจ่ายไฟไปในแต่ละห้อง และควรคำนวนดูการใช้ไฟในแต่ละห้องไม่ควรเกิน 1000J เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ 
  • ไม่ควรต่อแบตเตอรี่ที่ด้านขวาของหม้อแปลงไฟฟ้า (เอาท์พุตด้านล่าง) เพราะแบตเตอรี่ไม่มีการจำกัดการจ่ายกระแสไฟ ในขณะที่หม้อแปลงไฟฟ้าจะไม่จ่ายไฟเกินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวงจรโอเวอร์โหลด
  • หม้อแปลงไฟฟ้าสามารถเก็บพลังงานไว้ได้ 1000J (น้อยกว่าแบตเตอรี่) แต่จะไม่มีพลังงานรั่วไหลออกไปเมื่อไม่ใช้เหมือนแบตเตอรี่
  • การใช้หม้อแปลงไฟฟ้าต้องใช้ร่วมกับสายไฟฟ้าแรงสูง ทำให้ค่าตกแต่งติดลบอย่างมาก เป็นเหตุให้เพิ่มความเครียดแก่ตัวละคร ควรซ่อนสายไฟฟ้าแรงสูงไว้หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวละครเดินผ่านบริเวณนั้น


3. Heavi-Watt Joint Plate

  • อยู่ในหมวด Power
  • ใช้เชื่อมสายไฟฟ้าแรงสูงให้ต่อผ่านพื้นกระเบื้องได้
  • ผลกระทบ -50% run speed
  • ค่าตกแต่ง -25 (6 ช่องรอบๆ)


4. Heavi-Watt Wire (สายไฟแรงสูง)

  • อยู่ในหมวด Power 
  • ใช้สำหรับเดินสายไฟ
  • ไม่สามารถเดินสายผ่านพื้นหรือผนังได้
  • ผลที่ได้ Max Power 20kW
  • ค่าตกแต่ง -25 Decor (6 ช่องรอบๆ)

ข้อควรระวัง
- ควรต่อตรงจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบตเตอรี่ และหม้อแปลงไฟฟ้า (ด้านซ้ายบนอินพุต)
- ไม่ควรใช้ต่อเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากมีค่าตกแต่งติดลบเยอะมากจะทำให้ตัวละครเกิดความเครียด
- เพื่อลดผลกระทบด้านนี้ ควรซ่อนสายไฟไว้ หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวละครเดินผ่านบริเวณที่ใช้สายไฟนี้ หรือใช้วัสดุที่ดีกว่าในการทำสายไฟเพื่อเพิ่มค่าตกแต่งให้มากขึ้น


ขั้นที่ 3 (แถวที่ 3) Generic Sensors


มีสิ่งก่อสร้างที่จะปลดล็อค 4 ชิ้นดังนี้


1. Smart Battery

  • อยู่ในหมวด Power
  • ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และต่อสายไฟเพื่อให้ทำงาน
  • เป็นแบตเตอรี่สำหรับเก็บสำรองไฟฟ้า
  • ความจุแบตเตอรี่ 20 kJ
  • กระแสไฟฟ้ารั่วไหล 400.0 J/cycle
  • Overheat ที่ : 75 °C
  • ผลกระทบ : ความร้อน +2.5 W
  • Auto Outputs: ต่อสายไฟออโต้จะทำงานเมื่อกระแสไฟเกิน
  • ค่าตกแต่ง -15 (3 ช่องรอบๆ)


2. Weight Plate


  • อยู่ในหมวด Automation
  • ต้องต่อสายออโต้
  • ใช้สำหรับส่งสัญญาณ enable/disable โดยจะเปลี่ยนสัญญาณเมื่อตัวละครยืนอยู่บนปุ่ม
  • คล้ายปุ่มเปิดปิดโดยใช้น้ำหนักของตัวละครเป็นการเปลี่ยนสัญญาณ
  • Weight Plate จะเหมือนพื้นกระเบื้องทั่วไป แก๊สและของเหลวไหลผ่านไม่ได้
  • ผลที่ได้ : Runspeed +25%
  • Auto Outputs: Active/Standby
  • ค่าตกแต่ง-5 (1 ช่องรอบๆ)

3. Germ Sensor (เซนเซอร์ตรวจจับเชื้อโรค)

  • อยู่ในหมวด Automation
  • เป็นเซนเซอร์ตรวจจับเชื้อโรค
  • ใช้ร่วมกับสายออโต้
  • Active / Standby จะขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อโรครอบ ๆ
  • Auto Outputs: Active/Standby
  • ค่าตกแต่ง -5 (1 ช่องรอบๆ)



4. Clock Sensor (เซนเซอร์นาฬิกา)

  • อยู่ในหมวด Automation
  • เซ็นเซอร์นาฬิกาจะใช้เพื่อ enable / disable ตามเวลาที่ตั้งไว้ในแต่ละวัน (Cycle)
  • ระยะเวลาที่กำหนดนี้สามารถปรับได้โดยผู้เล่น
  • เซ็นเซอร์นาฬิกาจะทำงานตามเวลาเดิมในทุกๆวัน (เช่น ตั้งเวลาเพื่อปิดไฟอัตโนมัติในตอนกลางวัน เปิดไฟในตอนกลางคืน ฯลฯ)
  • ต้องการวงจร Automation และสายไฟออโต้เพื่อทำงาน
  • ค่าตกแต่ง -5 (1 ช่องรอบๆ)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น