28 ก.ค. 2561

[TIPS] มาสร้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์กันเถอะ!



ในเกม ONI นอกจากการสร้างออกซิเจนที่เป็นงานหลักของตัวละครแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อหาอาหารและวัตถุดิบมาสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ให้ตัวละครของเราดำเนินชีวิตอยู่ใต้ดินอย่างปกติสุขได้
ตอนนี้เราจะมาบอกเทคนิคการเลี้ยงสัตว์ให้ทราบกัน โดยวิธีการจับสัตว์มาเลี้ยงนั้น มีขั้นตอนดังนี้





1. สร้างห้องแบบปิด (มีประตู) ขนาดห้อง 12 - 96 ช่อง (ความสูงxความกว้าง เช่น สูง 4 ช่อง x กว้าง 3 ช่อง = นับรวมช่องในห้องเป็น 12 ช่อง) (ยกเว้นจะเลี้ยง Pufts ต้องสร้าง 16 ช่องเป็นอย่างต่ำ) เพื่อให้ได้โบนัสห้อง เพิ่มผลผลิตและลดความก้าวร้าวของสัตว์

แนะนำ : หากจะวางเครื่องมือเกี่ยวกับการดูแลสัตว์ดังข้อต่อไป ควรสร้างห้องกว้าง (พื้น) 6 ช่องเป็นอย่างต่ำ



2. ภายในห้องประกอบไปด้วย Grooming Station (เครื่องอาบน้ำแปรงขนสัตว์) Critter Drop-Off  (เครื่องปล่อยสัตว์ที่จับมา) Critter Feeder (เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ) Incubator (เครื่องฟักไข่)

Tip: สามารถสร้างห้องฟักไข่ต่างหาก หรือ ไม่ติดตั้งเครื่องฟักไข่ก็ได้ โดยไข่จะฟัก 20 cycles หากทิ้งไว้ข้างนอก หากใช้เครื่องฟักไข่จะใช้เวลาเพียง 4 cycles



3. จับสัตว์ได้โดยใช้กับดักจับสัตว์ มีดังนี้

Critter Trap
ใช้ดักจับสัตว์ทั่วไป (ยกเว้น Slicksters และตัวที่บินได้)






Critter Lure
ใช้ดักจับสัตว์ที่บินได้ โดยใช้เหยื่อล่อดังนี้
Pufts ใช้ Slime (สไลม์) เป็นเหยื่อล่อ                   
Shine Bugs ใช้ Phosphorite (ฟอสฟอไรต์) เป็นเหยื่อล่อ


Fish Trap
ใช้ดักจับปลา
ใช้ได้ครั้งเดียว
ต้องใช้ร่วมกับ Fish Release ในการปล่อยปลาออก (ติดตั้ง Fish Release เหนือบ่อน้ำ พร้อมกับ Fish Feeder เพื่อให้อาหารปลาในบ่อ)
ข้อควรระวัง
ห้ามให้ตัวละครที่มีนิสัยขี้เซาหลับได้ทุกที่ใช้กับดักจับปลานี้ เพราะจะทำให้ปลาหลุดออกไปขณะตัวละครหลับ ทำให้ปลาตาย เสียพลาสติกที่ใช้ทำกับดักจับปลาฟรีๆ


4. ควรแยกชนิดของสัตว์ในแต่ละห้อง (ชนิดเดียวกันอยู่ห้องเดียวกัน) อย่าลืมนำอาหารของสัตว์แต่ละชนิดมาใส่ในเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ (Critter Feeder / Fish Feeder) ด้วย

5. สัตว์แต่ละชนิด มีอาหาร ผลผลิต และสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยแตกต่างกันดังนี้

5.1 Hatch 



การออกไข่ 
หากให้อาหารที่ตรงตามเงื่อนไข Hatch จะออกไข่เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง


ข้อควรระวัง
  • Hatch เป็นสัตว์ดุร้าย หากโจมตีมัน มันจะสู้กลับทันที (และไม่หยุดสู้จนกว่าจะมีใครตายกันไปข้าง)
  • ไม่ควรให้ตัวละครไปสู้คนเดียว เพราะอาจทำให้ตัวละครบาดเจ็บสาหัส หรือตายได้ โดยเฉพาะสู้กับ สายพันธุ์ตั้งแต่ Stone Hatch ขึ้นไป เนื่องจากมีพลังชีวิตสูงขึ้น ตายยาก
  • ตัวละครที่มีลักษณะนิสัย Pacifist ไม่สามารถต่อสู้ได้ จะวิ่งหนีเมื่อมีการต่อสู้เกิดขึ้น

ไอเดียในการสร้างห้องเลี้ยง Hatch


1. ห้องฟาร์มไข่และเนื้อ Hatch 
Hatch สามารถเลี้ยงไว้เป็นอาหารได้ Hatch ธรรมดา (ตัวสีม่วง) มีพลังชีวิตน้อย สามารถฆ่าตายได้ง่าย แต่ก็มีโอกาสโดนโจมตีกลับเช่นกัน อีกทางเลือกที่ดี คือ เลี้ยงไว้เอาไข่ไปทำเป็น ไข่เจียว

2. ห้องกำจัดขยะด้วย Sage Hatch (ผลิตCoal)
เนื่องจาก Sage Hatch กินจำพวกอาหารเน่าเสียได้ ซ้ำยังมีอัตราการผลิต Coal เป็นสองเท่าของ Hatch ธรรมดา มีอัตราการออกไข่อย่างสม่ำเสมอ (1 ฟองต่อ 4 วัน) 
ทั้งยังมีพลังชีวิตเท่ากับ Hatch ธรรมดา จึงฆ่าได้ง่าย หากคุณมี Pincha pepper เพียงพอ สามารถใช้เนื้อ Sage Hatch 14 ตัว ทำบาร์บีคิวเพียงพอต่อตัวละคร 8 คน
หากปลูก Mealwood ให้ Sage Hatch กิน เท่ากับเปลี่ยน Meal Lice (600 kcal)  เป็นเนื้อ (3,200 kcal) หรือไข่ (2,800 kcal)
Sage Hatch 7 ตัวผลิต Coal เพียงพอต่อเครื่องผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน 1 เครื่อง

3. ห้องปรับแต่งโลหะด้วย Smooth hatch 
Smooth hatch เป็นเหมือนเครื่องปรับแต่งโลหะ โดยไม่ต้องใช้แรงงานตัวละคร ไม่กินไฟ และไม่มีความร้อนเกิดขึ้น โดยจะกินแร่ 166 g/s เปลี่ยนเป็น โลหะ 125 g/s อย่างเช่น 
กิน 166 g/s Copper Ore        เปลีี่ยนเป็น  Copper  125 g/s
กิน 166 g/s Gold Amalgam  เปลีี่ยนเป็น  Gold  125 g/s
กิน 166 g/s Iron Ore             เปลีี่ยนเป็น  Iron  125 g/s
กิน 166 g/s Wolframite         เปลีี่ยนเป็น Tungsten  125 g/s
นอกจากนี้ Smooth hatch จะออกไข่ และดรอปเนื้อเมื่อตายเช่นเดียวกัน แต่การฆ่า Smooth hatch จะมีความยากมากกว่าเนื่องจากมีค่าพลังชีวิตมาก ไม่ควรให้ตัวละครต่อสู้โดยลำพังเด็ดขาด 

Tip:
Hatch สามารถจมน้่ำตายได้ ฆ่าโดยการปล่อยน้ำให้ท่วมแล้วค่อยระบายออกเป็นวิธีที่ดีในการฆ่า Hatch โดยไม่ต้องเสี่ยง ทั้งยังสามารถฆ่าได้ทีละหลายๆตัวในทีเดียว

5.2  Shine Bug


การออกไข่ 
หากให้อาหารที่ตรงตามเงื่อนไข Shine Bug จะออกไข่เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง


Tips:
  •  Shine Bug ค่อนข้างอายุสั้น หากไม่มีอาหารกินจะตายไวมาก
  • Nega Shine Bug กับ Crystal Shine Bug มีอายุยืนยาวถึง 75 cycles แต่จะมีการสืบพันธุ์ลดลง ไม่สมควรเลี้ยงไว้กินไข่ แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้เพื่อเพิ่มค่าตกแต่ง
  • ห้ามฆ่า เพราะจะไม่ดรอปอะไรเลย
  • Shine Bug ไม่ดุร้าย ไม่เป็นอันตราย ชอบอยู่ในที่ที่มีแสงไฟ ต้นไม้ ชอบอยู่รวมกันเยอะๆ ใช้หลอดไฟในการล่อ Shine Bug ได้
  • สามารถเลี้ยง Shine Bug ไว้ในห้องปลูกพืช เช่น  Mealwood และ Bristle Blossoms นอกจากเพิ่มผลผลิตแล้ว Shine Bug ยังสามารถกิน Bristle Berry ได้อีกด้วย
  • พืช Dusk Cap (ต้นเห็ด) ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ควรปล่อย Shine Bug เข้าไปใกล้ ไม่อย่างนั้นเห็ดจะไม่โต

จำนวนช่องของแสงที่ได้จาก Shine Bug



ไอเดียในการสร้างห้องเลี้ยง Shine Bug

1. ฟาร์มไข่ Shine Bug
  • Shine Bug หากเลี้ยงในห้อง Ranch Room จะมีโบนัสเพิ่มผลผลิตและอัตราสืบพันธุ์สามารถออกไข่ได้ไวขึ้น จึงสามารถเลี้ยงเป็นฟาร์มไข่เพื่อนำไข่ไปทำ Omelette (ไข่เจียว) ได้
  • ควรสร้างระบบลำเลียงวัสดุอัตโนมัติเพื่อลำเลียงไข่ออกไปจากห้อง เพราะ Shine Bug จะไม่ผลิตไข่เพิ่มหากมีไข่ที่รอฟักอยู่ในห้อง รวมไปถึงเปลือกไข่ที่ฟักแล้วด้วย
  • ควรสร้างห้องฟักไข่แยกต่างหาก และใช้หลอดไฟในการล่อ Shine Bug ไปยังห้องเลี้ยงแทน 
  • ไข่ 1 ฟองใช้ทำ Omelette (ไข่เจียว) สามารถใช้เป็นอาหารได้ 1.7 cycle

2. ฟาร์มค่าตกแต่งด้วย Crystal Shine Bug
  • สร้างห้องเลี้ยงสัตว์ประกบระหว่างห้องที่ต้องการค่าตกแต่งสูงๆ และควรสร้างให้แคบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
  • พื้นบนและพื้นล่างควรสร้างด้วยพื้นที่ให้อากาศผ่านไปได้เพื่อให้แสงและค่าตกแต่งกระจายถึง 
  • ติดตั้งหลอดไฟไว้ด้านหนึ่งของห้อง อีกด้านเป็นเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ Shine Bug จะบินไปบินมาระหว่างหลอดไฟและเครื่องให้อาหาร 
  • สามารถใช้วิธีนี้ในการเพิ่มค่าตกแต่งให้ห้องที่มีความเครียดสูง (เช่นห้องที่มีสายไฟฟ้าแรงสูง) ได้อีกด้วย


5.3 Drecko


การออกไข่
Drecko หากเลี้ยงด้วย Mealwood จะเพิ่มอัตราการออกไข่เป็น Glossy Drecko


Tips:
Drecko จะมีชีวิตอยู่ 150 cycles
ขนสามารถตัดได้ทุก 8 cycles 
จะได้พลาสติก 1 ตัน ทุก 10 cycles

ไอเดียในการสร้างห้องเลี้ยง Drecko

ฟาร์มผลิตพลาสติกจาก Glossy Drecko

  • สร้างห้องเลี้ยงสัตว์แบบปิด ขนาด 6 x 16 ช่อง (สูงxกว้าง) 
  • เว้นที่ไว้ติดตั้ง Grooming Station (เครื่องอาบน้ำแปรงขนสัตว์) Critter Drop-Off (เครื่องปล่อยสัตว์ที่จับมา) Shearing Station (เครื่องตัดขน) 5 ช่อง ที่เหลือปลูกพืช Mealwood ด้วยกระเบื้องปลูกพืช
  • ปล่อยก๊าซไฮโดรเจน(สีชมพู)เข้าไปในห้อง 400 - 500 g ให้ลอยอยู่เหนือก๊าซออกซิเจน
  • ปล่อย Drecko เข้าไป Drecko จะกินผล Mealwood โดยไม่สนว่ามันโตเต็มที่หรือยัง และจะออกไข่เป็น Glossy Drecko
ข้อควรระวัง
Drecko มักแอบหนีออกจากห้องบ่อยครั้ง แม้จะติดตั้งประตูแล้วก็ตาม จึงควรระมัดระวังตรวจสอบนับจำนวน Drecko อยู่เสมอ หากหลุดก็ใช้กับดักสัตว์จับกลับมาได้



5.4 Puft

Tips:
  • Puft จะสูดเอาออกซิเจนที่ปนเปื้อนเข้าไปสองครั้ง จากนั้นจะลอยตัวไปบนเพดานแล้วขับ Slime ออกมา 1.5-2.5 kg จะทำเช่นนี้ทุกๆ 10 วินาที ดังนั้นมันจะเปลี่ยน Polluted Oxygen เป็น Slime ได้ประมาณ 50 g/s
  • Puft เป็นสัตว์ไม่ดุร้าย เมื่อถูกโจมตีจะบินหนี
  • Puft มีอัตราการสืบพันธุ์ที่ต่ำมาก ทั้งยังมีชีวิตอยู่ได้เพียง 75 วัน (Cycle) ดังนั้นชั่วชีวิตมันจะออกไข่เพียง 1 ฟองเท่านั้น จึงไม่เหมาะจะทำฟาร์มเลี้ยงไว้กินไข่
  • หากต้องการจับ Puft ต้องใช้ Critter Lure ดักจับ โดยใช้ Slime เป็นเหยื่อ

  •  Puft จะเปลี่ยน Polluted Oxygen ไปเป็น Slime ซึ่งนำไปเข้าเครื่อง Algae Distiller ทำ Algae เพื่อนำไปผลิตออกซิเจนต่อได้

ข้อควรระวัง
  • Puft สามารถจมน้ำตายได้
  • Slime ที่ได้จาก Puft จะปนเปื้อนเชื้อโรค Slimelung ดังนั้นควรจัดการติดตั้ง Wash Basin หรือ Sink หรือ Hand Sanitizer ให้ตัวละครทำความสะอาดเพื่อขจัดเชื้อโรคทุกครั้งหลังออกจากห้องที่มี Slime อยู่
  • Slime จะปล่อยก๊าซออกซิเจนที่ปนเปื้อนออกมาเช่นกัน ไม่ว่าจะปล่อยทิ้งไว้เฉยๆหรือเก็บไว้ในตู้เก็บของ
  • วิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้ Slime  ปล่อยก๊าซออกซิเจนที่ปนเปื้อน คือ เก็บไว้ในตู้เก็บของโดยทำน้ำท่วมตู้ไว้



ไอเดียในการสร้างห้องเลี้ยง Puft

1. ห้องฟาร์ม Algae โดย Puft  และ/หรือ Puft Prince
  • Puft  และ Puft Prince มีอัตราการใช้ Polluted Oxygen และผลิต Slime เหมือนกัน ดังนั้นสามารถใช้ฟาร์ม Slime เพื่อผลิต Algae ได้ (Puft Prince จะให้ค่าตกแต่งสูงกว่า)
  • การสร้างห้องควรสร้างห้องสูงๆ เพื่อให้ Puft สามารถลอยตัวขึ้นได้ หากทำห้องแคบเกินไป Puft จะไม่ผลิต Slime 
  • ควรสร้างประตูแอร์ล็อคเพื่อป้องกันก๊าซออกซิเจนที่ปนเปื้อนรั่วไหลออกไปจากห้อง
  • ให้ Puft อยู่กับ Morb เพื่อที่ Morb จะได้สร้างออกซิเจนที่ปนเปื้อนให้ Puft ใช้ได้ ทำให้มีก๊าซออกซิเจนที่ปนเปื้อนเพียงพอ
  • ในห้องเลี้ยง Puft ควรประกอบไปด้วย Grooming Station (เครื่องอาบน้ำแปรงขนสัตว์) Critter Drop-Off  (เครื่องปล่อยสัตว์ที่จับมา) Incubator (เครื่องฟักไข่) ตู้เก็บของไว้ใส่ Slime 
  • สามารถใช้ Auto-Sweeper ดูด Slime ไปเก็บไว้ในตู้เก็บของอัตโนมัติเพื่อประหยัดแรงงานตัวละคร 
  • หรือจะใช้ Auto-Sweeper ดูด Slime เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องผลิต Algae ได้โดยตรง

2. ห้องฟาร์ม Bleach Stone ด้วย Squeaky Puft
  • Squeaky Puft จะเปลี่ยน Chlorine เป็น Bleach Stone ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการสร้างใช้งานเครื่องล้างมือ Hand Sanitizer เพื่อกำจัดเชื้อโรคให้ตัวละคร
  • ควรสร้างห้องที่มีความสูง เต็มไปด้วยก๊าซคลอรีน ใช้งานประตูแอร์ล็อคเพื่อป้องกันก๊าซรั่วไหล
  • ตัวละครที่ทำงา่นในห้องควรใส่ชุดอวกาศเนื่องจากไม่มีอากาศที่หายใจได้ 


5.5 Morb 
พลังชีวิต : 25
ความเร็ว : 2
ชอบอยู่ในอุณหภูมิ : 20 °C ถึง 37 °C 
มีชีวิตได้ในอุณหภูมิ : 10 °C ถึง 57 °C
ผลิต : 25 g/s Polluted Oxygen (แรงดันได้ถึง 1 kg)
ค่าตกแต่ง +10
เมื่อตายจะดรอป : 3 kg Polluted Oxygen

Tips:
  • เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถเลี้ยง (Ranch)  จะไม่ออกไข่ หรือฟักไข่ 
  • เกิดขึ้นมาจาก Outhouse (ห้องน้ำ) ที่เต็มแล้วและปล่อยเอาไว้นาน อีกวิธีคือ เกิดจากมีซากศพของตัวละครที่ไม่ได้ฝังและถูกปล่อยเอาไว้นาน


  • สามารถจับได้ด้วยกับดักจับสัตว์ (Critter Trap) และปล่อยโดยเครื่อง  Creature Relocator
  • Morb เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ดุร้าย หากถูกโจมตีจะวิ่งหนี
  • Morb เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ปล่อยก๊าซออกซิเจนที่ปนเปื้อนให้ Puft โดยไม่ต้องให้อาหารใดๆ

5.6 Pacu

การออกไข่เพื่อให้ได้ไข่ Pacu ชนิดใหม่ทำได้โดยการควบคุมอุณหภูมิของน้ำ ดังนี้
  • อุณหภูมิ 35 ถึง 80 °C จะมีโอกาสออกไข่เป็น Tropical Pacu
  • อุณหภูมิ -30 ถึง 5 °C จะมีโอกาสออกไข่เป็น Gulp Fish


Tips:
Pacu จะไม่ดุร้าย พบเห็นได้ในแหล่งน้ำทั้งน้ำเสียและน้ำดี
ใช้ Fish Trap ในการจับปลา ร่วมกับ Fish Release ในการปล่อยปลาออก 
(ติดตั้ง Fish Release เหนือบ่อน้ำ พร้อมกับ Fish Feeder เพื่อให้อาหารปลาในบ่อ)



5.7 Slickster


การออกไข่เพื่อให้ได้ไข่ Slickster ชนิดใหม่ ทำได้โดยการควบคุมอุณหภูมิ ดังนี้

  • อุณหภูมิ 100 ถึง 250 °C จะมีโอกาสออกไข่เป็น Molten Slickster
  • อุณหภูมิ 20 ถึง 60 °C จะมีโอกาสออกไข่เป็น Longhair Slickster


Tips:

  • Slickster พบได้ในพื้นที่ที่มีน้ำมันดิบ (ด้านล่างของแมป) 
  • ชื่นชอบอากาศร้อนจัดมากกว่าหนาวจัด 
  • บางครั้งจะติดอยู่ในน้ำมันที่มันผลิตออกมา ทำให้หยุดการผลิต จึงควรติดตั้งพื้นกระเบื้องตะแกรงที่สามารถให้ของเหลวไหลผ่านได้



ข้อแนะนำ

  • สัตว์ทั้งหมด ยกเว้น Slickster และ Pacu สามารถจมน้ำตายได้ 
  • พวกมันจะไม่หลบหนีต่อให้มีอันตรายเกิดขึ้น อย่างเช่น ก๊าซที่มันไม่สามารถหายใจได้ หรือมีน้ำท่วมกะทันหัน 
  • สัตว์ที่เดินได้ทั้งหมด สามารถเดิน กระโดดซ้ายขวาบนล่าง ไม่สามารถใช้บันได  บางครั้งก็กระโดดเข้าไปในของเหลว





2 ความคิดเห็น:

  1. ทำดีมากเลยครับ ชื่นชมครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ18/1/64 12:51

    ไอเดียสร้างห้องกำจัดขยะกับฟาร์มผลิตเนื้อดิบน่าสนใจมากครับ

    ตอบลบ